Scurmin Complex

4 เหตุผล ที่ทำคนนอนไม่หลับ

โลกสดใส เพียงแค่นอนหลับพักผ่อนให้เต็มอิ่ม 🌟
.
หลายคนมีปัญหานอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท หรือนอนแล้วตื่นกลางดึก ทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เมื่อตื่นขึ้นมาจึงรู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลีย สมองไม่ปลอดโปร่ง หากนอนไม่หลับเรื้อรังจะมีผลเสียต่อสุขภาพจิต เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า รวมถึงส่งผลให้ระบบเผาผลาญพลังงานภายในร่างกายทำงานไม่เต็มที่ ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือเกิดภาวะอ้วนตามมา
.
จากการศึกษาพบว่ามี 4 สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คนนอนไม่หลับ ได้แก่

1. อายุเป็นเหตุ

หลายคนอาจมีปัญหาตื่นกลางดึกหลังจากที่นอนไปได้สักพัก ซึ่งพบได้บ่อยในหมู่ผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะลดการผลิตเซโรโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับ คนในช่วงวัยกลางคนเข้าสู่วัยชรา คนในวัยชรา รวมถึงผู้หญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ จึงมักมีปัญหานอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท

นอกจากนี้วงจรการนอนที่ปรับเปลี่ยนไปตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รู้สึกง่วงนอนในเวลาประมาณ 2 ทุ่ม และมักตื่นขึ้นมาในเวลาตี 4 ซึ่งเป็นเวลาที่รู้สึกว่านอนหลับเต็มที่แล้วนั่นเอง

2. รูปแบบการใช้ชีวิต

เรื่องธรรมดาๆ ที่ทำอยู่ทุกวันอาจกลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเรานั้นนอนไม่หลับ โดยวิถีชีวิตที่ส่งผลต่อการนอนนั้นประกอบด้วย

🥃 ดื่มแอลกอฮอลล์: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ภายใน 4 ชั่วโมงก่อนนอน อาจทำให้หลับง่ายก็จริง แต่ก็ตื่นง่ายเช่นกัน เพราะจะโดนขัดจังหวะการนอนด้วยการเข้าห้องน้ำแทน

🍚 ทานมื้อใหญ่ก่อนนอน: การเข้านอนทั้งๆ ที่ท้องอิ่มอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน ซึ่งจะทำให้หลับยากและตื่นทั้งคืน

🛌 งีบมากเกินไป: จริงอยู่ที่การพักผ่อนระหว่างวันจะช่วยทำให้สมองสดชื่นขึ้น แต่การงีบยาวเกินไป จะทำให้นอนไม่หลับเมื่อถึงเวลานอนเข้าจริงๆ

☕ ดื่มคาเฟอีน: สำหรับผู้ที่รักชากาแฟมาก ต้องดื่มทุกวัน วันละหลายครั้ง คาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านั้นจะไปปิดกั้นสารเคมีในสมองที่ช่วยในการนอนหลับ แถมยังออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทให้ตื่นตัวอีกด้วย ดังนั้นถ้าใครชอบดื่มชากาแฟแนะนำให้ดื่มแบบไม่มีคาเฟอีน หรือดื่มในช่วงสายของวันจะดีที่สุด

3. การรับประทานยาบางชนิด

บางครั้งยาที่เราทานก็อาจส่งผลต่อการนอนหลับของเราได้ เช่น

💊 ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น คอร์ติโซน (Cortisone) เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) และเพรดนิโซน (Prednisone) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอาการอักเสบของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ ยากลุ่มนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต ส่งผลต่อประสาทการรับรู้และการตอบสนอง ทำให้ร่างกายตื่นตัวจนนอนไม่หลับ

💊 กลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressants) เช่น ซิตาโลแพรม (Citalopram) เอสซิตาโลแพรม (Escitalopram) และฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) เป็นยาที่ส่งผลต่อสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ควบคุมประสาทการรับรู้ ความรู้สึก และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การใช้ยาเหล่านี้จึงอาจกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทให้ตื่นตัว รู้สึกตัว จนอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้

📌 ดังนั้น การรักษาและใช้ยาบางชนิดจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์นะครับ 💥

4. ปัญหาสุขภาพ

สุขภาพของเราเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อการนอนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการที่เป็นเรื้อรังจะยิ่งทำให้การนอนหลับนั้นเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เช่น

✔ โรคกระเพาะอาหาร
✔ ไมเกรน
✔ โรคเครียด โรคซึมเศร้า
✔ โรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก
✔ อาการบาดเจ็บเรื้อรัง
✔ อาการทางระบบประสาท
✔ โรคมะเร็ง
✔ โรคการหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ หรือกรนขณะนอนหลับ

โรคเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หรือทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นกลางดึกบ่อยๆ ได้

แต่ถึงแม้ว่าภาวะนอนไม่หลับสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากขนาดนี้ โชคยังดีที่โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ชีวิตเล็กๆ น้อยๆ ได้แก่
.
✅ เข้านอนและตื่นเวลาเดิมทุกวัน
✅ งดกินอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มและยาที่มีสารกระตุ้น
✅ หยุดใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแสงสว่าง 1 ชั่วโมงก่อนนอน
✅ นอนในที่มืด เงียบ และอุณหภูมิค่อนข้างเย็น
✅ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน
✅ ผ่อนคลายด้วยการอ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ หรือทำสมาธิก่อนนอน
.
แต่ถ้าใครรู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหานอนไม่หลับได้ด้วยตัวเอง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษา บางคนอาจคิดว่าเรื่องแค่นี้ไม่จำเป็นต้องถึงมือหมอ แต่จริงๆ แล้วคุณภาพการนอนที่ดี คือ จุดเริ่มต้นของวันดีๆ ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนั้น #นอนหลับให้สนิทเพื่อชีวิตที่สดใส นะครับ

ปรึกษาและขอรับหนังสือคู่มือดูแลตับ ฟรี!!
☎ เบอร์โทร ☎ 0-2105-4179
💬 Line@ 💬 https://line.me/ti/p/@honorherb